ตั้งอยู่ที่ ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม-สัตหีบ แยก 331-บ้านโปร่งนกเป้า แยก 331 เนินไร่-หนองเรือ (ถนน ฉช .3015 ประมาณ กม. 8+400) บริเวณพื้นที่สีม่วง
โครงการเป็นเขตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและคลังสินค้าโดยเฉพาะ ที่ให้บริการโรงงานอุตสาหกรรม สามารถประกอบกิจการได้ด้วยความสะดวก รวดเร็ว มีสาธารณูปโภคที่ครบครัน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างโรงงานอุตสาหกรรม มีการวางแผนการป้องกันและลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
โครงการเอเพ็กซ์ กรีน อินดัสเตรียลเอสเตท พื้นที่ของโครงการรวมทั้งสิ้น 2,191.49 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม 1,606.16 ไร่ และมีพื้นสาธารณูปโภค 352.77 ไร่ ระบบการจ่ายน้ำและไฟฟ้าที่พร้อมสนับสนุนธุรกิจ และอุตสาหกรรมทุกประเภทและทุกขนาด และสิ่งอำนวยความสะดวก ระบบการคมนาคมขนส่งสะดวกสบาย โดยสามารถแบ่งออกได้เป็นเส้นทางดังนี้
ทางหลวงหมายเลข 331
ทางหลวงชนบท ฉช 3050
ทางหลวงชนบท ฉช 3015
ทางหลวงชนบท ฉช 4012
โครงการตั้งอยู่ที่ ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ถนนเส้นพนมสารคาม-สัตหีบ แยก 331-บ้านโปร่งนกเป้า แยก 331 เนินไร่-หนองเรือ (ถนน ฉช .3015 ประมาณ กิโลเมตร 8+400) พื้นที่โครงการทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณ “พื้นที่สีม่วง” ที่พร้อมให้บริการโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบกิจการด้วยความสะดวก รวดเร็ว สาธารณูปโภคครบครัน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการได้กำหนดให้มีสถานีไฟฟ้าย่อย เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ มีระบบผลิตน้ำประปา ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลาง มีบ่อพักน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดขนาดประมาณ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีบ่อสำรองน้ำฝนขนาดประมาณ 1.6 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อช่วยให้เกิดความสะดวกในการประกอบกิจการต่างๆ ของโรงงาน และช่วยป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ทางโครงการได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาปลอดภัยเพื่อดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ภายในโครงการ จัดทำทะเบียนประวัติคนงานก่อสร้างทุกคน ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง และประสานงานให้การสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกบริเวณพื้นที่อ่อนไหวที่อยู่ในเส้นทางขนส่งซึ่งอยู่ใกล้กับโครงการในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน
ทางโครงการได้จัดตั้งศูนย์รับร้องเรียนเมื่อพบปัญหาภายในพื้นที่โครงการ สามารถแจ้งผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนโครงการ หรือแจ้งผ่านโทรศัพท์ / แจ้งทางวาจาต่อเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับเรื่องร้องเรียน หรือแจ้งผ่านผู้นำชุมชน หรือแจ้งหน่วยงานราชการที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนและแจ้งคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้มให้รับทราบ
ทางโครงการได้กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น (ส่งเสริมการป้องกันมากกว่า การแก้ไขปัญหาด้วยการฟื้นฟู และชดเชยเยียวยา) ตัวอย่างเช่น การจัดสรรพื้นที่แนวกันชนหรือแนวป้องกันการเกิดผลกระทบที่มีความกว้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่โครงการ การติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งแบบอัตโนมัติ การติดตั้งเครื่องมือตรวจสอบมลพิษบริเวณพื้นที่โครงการ เป็นต้น